แวนนีวาร์ บุช
แวนนีวาร์ บุช

แวนนีวาร์ บุช

แวนนีวาร์ บุช (อังกฤษ: Vannevar Bush, ออกเสียง: /væˈniːvɑːr/; 11 มีนาคม ค.ศ. 1890 – 28 มิถุนายน ค.ศ. 1974) เป็นวิศวกร นักประดิษฐ์ ชาวอเมริกัน ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเป็นผู้นำในการปฏิบัติการของสำนักงานการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐ (OSRD), ซึ่งเป็นหน่วยงานที่พัฒนาและวิจัยอุปกรณ์ทางการทหาร รวมถึงการพัฒนาที่สำคัญของเรดาร์ และเป็นผู้ริเริ่มและบริหารจัดการ โครงการแมนแฮตตัน เขายังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เพื่อนำไปใช้ในความปลอดภัยของชาติ และความคล่องตัวทางเศรษฐกิจ และเป็นถึงในบุคคลสำคัญต่อการนำไปสู่การก่อตั้ง มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา[1]บุชเข้าศึกษาสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าที่ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ในปี ค.ศ. 1919 และก่อตั้งบริษัทที่กลายมาเป็น บริษัทเรเธียน ในปีค.ศ. 1922 บุชกลายเป็นรองประธานของ MIT และคณบดีของ โรงเรียนวิศวกรรมเอ็มไอที ในปี ค.ศ. 1932 และเป็นประธานของ สถาบันคาร์เนกีแห่งวอชิงตัน ในปี ค.ศ. 1938ในอาชีพการงานของเขา บุชได้จดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ของเขาเอง เขาเป็นที่รู้จักโดยเฉพาะจากงานด้านวิศวกรรมเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์แอนะล็อก และสำหรับ มีเมกซ์ [1] เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1927 บุชได้สร้างเครื่อง วิเคราะห์อนุพันธ์ ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์แอนะล็อกที่มีส่วนประกอบดิจิทัลที่สามารถแก้สมการเชิงอนุพันธ์ ได้มากถึง 18 ตัวแปรอิสระ ผลงานที่แตกแขนงมาจาก MIT โดย บุชและคนอื่นๆ เป็นจุดเริ่มต้นของทฤษฎีการออกแบบวงจรดิจิทัล มีเมกซ์ที่เขาเริ่มพัฒนาในช่วงคริสตทศวรรษที่ 1930 (ได้รับแรบันดาลใจอย่างมากจาก "Statistical Machine" ของ เอมานูเอล โกลด์เบิร์ก ในปี ค.ศ. 1928) เป็นโปรแกรมดู ไมโครฟิล์ม ที่ปรับได้ตามสมมุติฐานโดยมีโครงสร้างคล้ายกับ ไฮเปอร์เท็กซ์ บทเรียงความของมีเมกซ์และบุชปี 1945 เรื่อง แอสวิเมย์ติง มีอิทธิพลต่อนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์รุ่นต่อรุ่น ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์ของเขาเกี่ยวกับอนาคต [2]บุชได้รับการแต่งตั้งให้เป็น คณะกรรมการที่ปรึกษาทางการบินแห่งชาติสหรัฐ (NACA) ในปี ค.ศ. 1938 และต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นประธาน ในฐานะประธาน คณะกรรมการวิจัยเพื่อความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ (NDRC) จากนั้นเป็นผู้อำนวยการ OSRD บุชได้ประสานงานกิจกรรมของนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของอเมริการาว 6,000 คน ในการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ในการทำสงคราม บุชเป็นผู้กำหนดนโยบายและปัญญาชนที่มีชื่อเสียงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อเขาดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ประจำประธานาธิบดีคนแรก ในฐานะหัวหน้า NDRC และ OSRD เขาได้ริเริ่มโครงการแมนแฮตตัน และทำให้มั่นใจว่าโครงการดังกล่าวได้รับความสำคัญสูงสุดจากรัฐบาล ในทางด้านวิทยาศาสตร์ ดิเอนเลสฟรันเทียร์ รายงานของเขาต่อประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1945 บุชเรียกร้องให้มีการขยายการสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์จากรัฐบาล และเขาผลักดันให้มีการจัดตั้ง มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

แวนนีวาร์ บุช

เกิด 11 มีนาคม ค.ศ. 1890(1890-03-11)
เอเวอเรตต์, รัฐแมสซาชูเซตส์, สหรัฐ
บำเหน็จ Edison Medal (1943)
Hoover Medal (1946)
Medal for Merit (1948)
IRI Medal (1949)
John Fritz Medal (1951)
John J. Carty Award for the Advancement of Science (1953)
William Procter Prize (1954)
National Medal of Science (1963)
See below
ลายมือชื่อ
ถัดไป เจอโรม ฮันเซเกอร์
ประธานาธิบดี แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์
เสียชีวิต 28 มิถุนายน ค.ศ. 1974(1974-06-28) (84 ปี)
เบลมอนต์, รัฐแมสซาชูเซตส์, สหรัฐ
ก่อนหน้า โจเซฟ เอมส์

แหล่งที่มา

WikiPedia: แวนนีวาร์ บุช http://carnegiescience.edu/legacy/findingaids/CIW-... http://libraries.mit.edu/archives/research/collect... http://www.presidency.ucsb.edu/ws/?pid=2892 http://findingaids.loc.gov/db/search/xq/searchMfer... http://archive.dennishistsoc.org/bitstream/handle/... //doi.org/10.1002%2Faris.2007.1440410109 http://www.ieeeghn.org/wiki/index.php/Vannevar_Bus... http://www.nasonline.org/site/PageServer?pagename=... https://www.nsf.gov/nsb/awards/bush.jsp https://www.nsf.gov/od/nms/recip_details.cfm?recip...